วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558

ข่าววิทยาศาสตร์-เทคโนโล ยี


ข่าว/วิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี 

นักวิจัยค้นพบทฤษฎี “ไดโนเสาร์เนิร์สเซอรี่” สถานที่เลี้ยงดูไดโนเสาร์น้อยเพิ่งออกจากไข่


นักวิจัยด้านไดโนเสาร์จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียค้นพบข้อสันนิษฐานความเป็นไปได้ที่ไดโนเสาร์จะมีการจัดสถานที่เลี้ยงตัวอ่อนหรือเนิร์สเซอรี่สำหรับทารกไดโนเสาร์ที่เพิ่งลืมตาดูโลกด้วยการมอบหมายให้ไดโนเสาร์พี่เลี้ยงคอยดูแล
การค้นพบครั้งใหม่ว่าสัตว์ดึกดำบรรพ์อย่างไดโนเสาร์อาจจะมีการจัดการการเลี้ยงตัวอ่อน แบบศูนย์เลี้ยงดูเด็กอ่อนหรือ เนิร์สเซอรี่เหมือนคนเรามาตั้งแต่เมื่อหลายร้อยล้านปีก่อน
ข้อสันนิษฐานนี้ มีเหตุผลสนับสนุนจากงานวิจัยของ ศาสตราจารย์ Peter Dodson นักบรรพชีวินวิทยา (Paleontology) ที่ศึกษาสิ่งมีชีวิตยุคโบราณ และคุณ Brandon Hedrick ลูกศิษย์ที่เป็นนักวิจัยในระดับปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ที่วิเคราะห์แผ่นหินที่พบในประเทศจีน บรรจุซากฟอสซิลของไดโนเสาร์กินพืชขนาดเล็ก 25 ตัว สายพันธุ์ซิตตะโกซอรัส (Psittacosaurus) หรือไดโนเสาร์ปากนกแก้ว  ที่มีชีวิตอยู่บนโลกเมื่อประมาณ 100-123 ล้านปีก่อน  และสิ่งที่นักวิจัย 2 ท่านได้วิเคราะห์จากกระดูกก็คือ ซากไดโนเสาร์ 24 ตัวล้วนเป็นตัวอ่อนที่เพิ่งเกิดใหม่ ขณะที่อีก 1 ตัวเป็นไดโนเสาร์ที่ยังไม่โตเต็มวัย
ลักษณะแผ่นหินที่พบมีความกว้างไม่ถึง 1 เมตร  ซึ่งเชื่อว่าสาเหตุที่เจ้าไดโนเสาร์เสียชีวิตพร้อมกันทั้งหมดน่าจะเป็นเพราะติดอยู่ในกระแสลาวาร้อนที่ไหลเข้าท่วมจนทั้งหมดถูกฝังกลายเป็นฟอสซิลหินไปพร้อมกัน  
นักบรรพชีวินวิทยา ทั้งสองสันนิษฐานว่า ที่เจ้าไดโนเสาร์อาศัยอยู่น่าจะเป็นรังที่ใช้เลี้ยงดูไดโนเสาร์ตัวอ่อนหรือเนิร์สเซอรี่ ที่ไดโนเสาร์ตัวพี่จะทำหน้าที่คอยดูแลเจ้าตัวเล็กที่เพิ่งลืมตาดูโลก เพราะที่พบลักษณะพฤติกรรมการดูแลตัวอ่อนแบบนี้ในสายพันธุ์นกหลายชนิดในโลกยุคใหม่อีกด้วย
อย่างไรก็ตามการการศึกษาครั้งนี้ยังคงต้องการหลักฐานและการศึกษาเพื่อยืนยันทฤษฎีไดโนเสาร์เนิร์สเซอรี่นี้เพิ่มเติม และคุณผู้ฟังสามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดงานวิจัยนี้ได้จาก วารสารวิจัย ครีเทเซียส หรือ Journal Cretaceous Research

ซากฟอสซิลที่เพิ่งพบชี้ว่านกอาจไม่ได้วิวัฒนาการมาจากไดโนเสาร์ และนักวิจัยเชื่อว่าช้างคือสัตว์ที่มีประสาทดมกลิ่นดีที่สุดในโลก



ซากฟอสซิลที่ขุดพบในมองโกเลียเมื่อเร็วๆ นี้ อาจพิสูจน์ได้ว่า นกอาจไม่ได้วิวัฒนาการมาจากไดโนเสาร์อย่างที่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อกัน แต่อาจวิวัฒนาการจากสิ่งมีชีวิตที่เคยอาศัยอยู่บนโลกมาก่อนหน้ายุคไดโนเสาร์ โดยซากฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตที่มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่าScansoriopteryx ซึ่งหมายความว่า ‘ปีกปีนป่าย’ อาจส่งผลให้ทฤษฎีเรื่องวิวัฒนาการของนกต้องเปลี่ยนไป

ในรายงานเรื่องนี้ซึ่งตีพิมพ์อยู่ในวารสาร The Journal of Ornithology ศาสตราจารย์ Alan Feduccia นักชีววิทยาที่University of North Carolina ตรวจสอบซากฟอสซิลดังกล่าว และพบว่ามีส่วนคล้ายกับนกในปัจจุบันมากกว่าไดโนเสาร์ นักชีววิทยาผู้นี้ระบุว่า ซากฟอสซิลที่พบใหม่นี้ไม่มีอะไรคล้ายไดโนเสาร์เลย แต่มีหลายส่วนที่คล้ายนก โดยเฉพาะส่วนขา

ศาสตราจารย์ Alan Feduccia ชี้ว่าขาของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ชนิดนี้มีลักษณะเหมือนขาที่ใช้เกาะเกี่ยวกิ่งไม้ คือนิ้วโป้งงุ้มงอไปด้านหลัง ทำให้เชื่อว่าสิ่งมีชีวิตชนิดนี้น่าจะอาศัยเกาะเกี่ยวอยู่บนต้นไม้ นอกจากนี้ ดูเหมือนลักษณะข้อต่อสะโพกของScansoriopteryx มิได้ถูกสร้างมาสำหรับการเดิน เหมือนกับข้อต่อสะโพกของไดโนเสาร์อีกด้วย หลักฐานอีกอย่างที่นักวิทยาศาสตร์ยกมาคือ ลักษณะทางกายภาพของไดโนเสาร์ซึ่งไม่เอื้อต่อการวิวัฒนาการไปเป็นสัตว์ปีก เช่นไดโนเสาร์ T-Rexมีแขนสั้นเกินไป

หลักฐานต่างๆ ที่กล่าวมายิ่งสนับสนุนแนวคิดที่ว่า นกไม่ได้วิวัฒนาการมาจากสัตว์ที่อาศัยอยู่บนพื้นดินอย่างไดโนเสาร์

ศาสตราจารย์ Feduccia ระบุว่าเท่าที่พบ แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่สัตว์มีปีกจะวิวัฒนาการมาจากสัตว์ที่อยู่บนพื้น กล่าวคือสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังและบินได้เกือบทุกชนิด รวมถึง กระรอกบินและค้างคาว ต่างวิวัฒนาการมาจากสัตว์ที่อาศัยอยู่บนต้นไม้ทั้งสิ้น

ศาสตราจารย์ Alan Feduccia กล่าวว่าซากฟอสซิลของ Scansoriopteryx ทำให้เกิดการพูดถึงสิ่งมีชีวิตอีกสายพันธุ์หนึ่งที่แตกต่างไปจากไดโนเสาร์อย่างสิ้นเชิง และยังอาจนำไปสู่การไขปริศนาของสิ่งมีชีวิตในโลกยุคดึกดำบรรพ์มากขึ้นด้วย

อีกด้านหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยโตเกียวของญี่ปุ่น ค้นพบว่าสัตว์ที่มีประสาทสัมผัสด้านการรับกลิ่นต่างๆ ดีที่สุดในโลกนั้น อาจจะเป็นช้างแอฟริกัน โดยรายงานที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสาร Genome Research ระบุว่า ช้างแอฟริกันมียีนที่เกี่ยวข้องกับการดมกลิ่นถึง 2,000 ยีน มากกว่ายีนที่สุนัขมีอยู่ถึง เท่า มากกว่ามนุษย์ เท่า และมากกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นอีก 11 สายพันธุ์ ที่เชื่อกันว่ามีประสาทสัมผัสด้านการดมกลิ่นดีเลิศ

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถระบุได้ว่าทำไมช้างจึงต้องมียีนมากมายที่เกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสด้านการดมกลิ่น แต่เชื่อว่าความสามารถในการดมกลิ่นนั้นสำค้ญต่อการดำรงชีพของช้างป่าแอฟริกัน เพราะช่วยให้พวกมันสามารถจดจำกลิ่นอาหาร กลิ่นศัตรู หรือกลิ่นคู่ของมันได้

สารคดีสัตว์น้ำใต้ล่ำลึก



ชิงสารคดี 3 มิติชิ้นแรก “Secret Ocean 3D’’ เผยชีวิตสัตว์ใต้ทะเลที่ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน

ถ้าจะพูดว่า Jean-Michel Cousteau เป็นลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น ก็คงไม่ผิด เขาทุ่มเทชีวิตไปกับการสำรวจชีวิตสัตว์ใต้ท้องทะเล ตามรอยเท้าของบิดา Jacques Cousteau เป็นนักสำรวจใต้ทะเลและผู้สร้างภาพยนตร์ชื่อก้องโลก
Jean-Michel Cousteau พร้อมทีมงานใช้กล้อง IMAX ในการถ่ายภาพวิดีทัศน์ใต้ท้องทะเลยาวนาน 100 ชั่วโมงเพื่อผลิตเป็นภาพยนตร์เชิงสารคดีชุดพิเศษยาว 40 นาทีที่เสนอความสำคัญของสัตว์ทะเลที่เล็กที่สุดต่อความอยู่รอดของชีวิตทุกประเภทบนโลก 
Jean-Michel Cousteau กล่าวว่าใต้มหาสมุทรแห่งต่างๆ ทั่วโลกยังมีสิ่งมีชีวิตต่างๆ มากมายให้ค้นหา เขาและทีมงานใช้เทคโนโลยีการถ่ายภาพแบบใหม่ที่สามารถบันทึกภาพสัตว์ใต้ทะเลขนาดจิ๋วได้ถึง 30 ชนิดโดยบันทึกเป็นภาพ slow motion แบบสามมิติ สัตว์ทะเลขนาดจิ๋วเหล่านี้ไม่เคยพบเห็นกันมาก่อนและส่วนมากเกือบมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น

เขากล่าวว่าทุกครั้งหลังถ่ายภาพใต้ทะเล ทีมงานจะนำภาพที่ถ่ายได้ไปเปิดดูบนหน้าจอสามมิติบนเรือ และทีมงานต้องสวมแว่นตาสามมิติที่ช่วยให้มองเห็นสัตว์ทะเลขนาดจิ๋วในภาพถ่ายได้ บางครั้งทีมงานตื่นเต้นที่พบสัตว์ทะเลชนิดใหม่ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนและต้องการกลับไปถ่ายภาพซ้ำในจุดเดิมอีก 
ผู้สื่อข่าววีโอเอรายงานว่าผลงานที่ออกมาพิเศษสุดมาก ภาพยนตร์เชิงสารคดีเรื่อง “Secret Ocean 3D’’ ของ Jean-Michel Cousteau นำเสนอชีวิตสัตว์ใต้ทะเลที่สวยงามแต่มักเต็มไปด้วยอันตราย ที่แม้เเต่สัตว์ทะเลขนาดจิ๋วก็ยังเป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อาหารที่มนุษย์บนโลกพึ่งพา
ใต้ท้องทะเลไม่มีการทิ้งขว้างทรัพยากรธรรมชาติให้สูญเปล่า แต่เขาเตือนว่าขยะจากกิจกรรมของมนุษย์รวมทั้งสารเคมี สารโลหะหนักประเภทต่างๆ และพลาสติกกลายเป็นภัยคุกคามต่อความอยู่รอดของชีวิตสัตว์ใต้ทะเลเหล่านี้ ขยะอันตรายที่ลงไปในทะเลเหล่านี้มีทั้งที่กำลังย่อยสลายและกำลังจมลงไปใต้ทะเล ส่งผลกระทบต่อรากฐานของชีวิตใต้ทะเล ตั้งแต่แพลงตอนไปจนถึงสัตว์ทะเลที่กินแพลงตอนเป็นอาหาร

ค้นพบชีวิตสัตว์ทะเลที่แปลกที่สุดและสุดขั้วที่สุดในหนังสือเรื่อง Extreme Life In The Sea

คุณ Tony Palumbi นักเขียนชาวอเมริกันผู้เขียนหนังสือเล่มนี้กล่าวว่าการศึกษาว่าสัตว์ทะเลอยู่รอดได้อย่างไรในสภาพเเวดล้อมเเบบสุดโต่ง ช่วยให้เข้าใจมากขึ้นถึงความสามารถที่น่าเหลือเชื่อของสัตว์ทะเลเหล่านี้เมื่อ 20 ล้านปีที่แล้ว ปลาฉลามยักษ์พันธุ์ megalodon เป็นเจ้ามหาสมุทร คุณ Steve Palumbi ชี้ว่าปลาฉลามพันธุ์นี้มีกรามที่ใหญ่มากกว้างถึงสองเมตร เเละมีฟันที่เเหลมคมกว่าใบมีดโกนถึงสามเท่า ปลาฉลามพันธุ์นี้มีฟันอีกสองเเถวที่ขึ้นภายในลำคอเพื่อทดแทนชุดเก่าที่ใช้งานจนทื่อ โดยฟันเเถวใหม่จะค่อยๆ ขยับขึ้นมาทดแทนฟันหน้าของเดิม

นักชีววิทยาทางทะเลอเมริกันไขปริศนาชีวิตใต้ทะเลของเต่าหัวฆ้อนในมหาสมุทรแอตแลนติก

ทีมนักวิจัยในรัฐฟลอริด้าค้นคว้าชีวิตใต้ทะเลที่ลึกลับของลูกเต่าหัวฆ้อนเพื่อหาทางอนุรักษ์เต่าสายพันธุ์นี้ให้อยู่คู่กับมหาสมุทรแอตแลนติกต่อไป

ลูกเต่ามีขนาดเล็กจิ๋วและมักไม่อยู่กับที่ทำให้ยากต่อการติดตามเฝ้าดู การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาชิ้นเเรกที่ติดตามดูพฤติกรรมและการเดินทางใต้ทะเลของเต่าตั้งเเต่ยังเป็นลูกเต่าด้วยการใช้ระบบติดตามแบบตรวจจับสัญญาณระยะไกล
 
คุณ Kate Mansfield นักชีววิทยาทางทะเลเเห่งมหาวิทยาลัย University of Florida เป็นหัวหน้าการวิจัยครั้งนี้ เธอกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าทีมงานใช้ป้ายขนาดจิ๋วติดลงไปบนตัวลูกเต่าหัวฆ้อน (loggerhead) จำนวน 17 ตัวก่อนจะปล่อยลูกเต่าลงสู่ทะเลแอตเเลนติกเหนือที่รัฐฟลอริด้า และทีมงานทำการเฝ้าติดตามดูการเดินทางของลูกเต่าหัวฆ้อนในท้องทะเลนานถึง 220 วัน
 ทีมนักวิจัยคิดว่าข้อมูลที่ได้ทำให้เชื่อว่าทะเลซาร์แกสโซ่อาจจะเป็นเเหล่งอาศัยของเต่าหัวฆ้อนที่จำเป็นต้องพิจารณาถึงแนวทางการอนุรักษ์เพื่อช่วยให้เต่าหัวฆ้อนอยู่รอดได้เเม้ว่าเต่าหัวฆ้อนอาจจะเเวะเวียนเข้าไปอาศัยและหากินในทะเลซาร์แกสโซ่เพียงชั่วคราวก่อนจะเดินทางต่อไปตามกระเเสน้ำทะเลที่ไหลเวียนไปทั่วมหาสมุทรแอตแลนติกอีกครั้ง
คุณ Kate Mansfield หัวหน้าทีมนักวิจัยกล่าวว่ากำลังขยายขอบเขตการศึกษาออกไปนอกเหนือจากเต่าหัวฆ้อนในมหาสมุทรแอตแลนติกโดยจะมุ่งที่จะศึกษาพฤติกรรมของลูกเต่าต่างสายพันธุ์ในท้องมหาสมุทรอื่นๆ อีกด้วยเช่นกัน